โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (stroke) เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการ ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ พบว่าในประชากร จำนวน 19,997 คน มี 376 คนเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือ คิดเป็นร้อยละ 1.88 โดยที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะ เฉียบพลันที่เกิดจากหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่อุดตัน จะมีความรุนแรงของโรคมากกว่า ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ จะมีอัตราความพิการ อัตราเสียชีวิต และอัตราการเกิด ภาวะแทรกซ้อนสูงกว่า
ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและเร่งด่วนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการวางแผนการรักษาอย่างแม่นยำและทันเวลา ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาภายใน 4.5 ชั่วโมง
อาการของผู้ป่วย “พูดลำบาก ปากตก ยกไม่ขึ้น” หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้มาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
มีอาการชาครึ่งซีก
อ่อนแรงและหน้าเบี้ยว
มีอาการแขนขาอ่อนแรง
พูดลำบาก หรือฟังไม่เข้าใจ
เวียนศีรษะ การทรงตัวไม่ดี เดินเซ กลืนลำบาก ปวดศีรษะ (บางครั้งจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง)
พูดไม่ชัด
ตามัว หรือมองไม่เห็น หรือเห็นภาพซ้อน
วิงเวียนศีรษะ หรือเสียการทรงตัว
การตรวจวินิจฉัย
ซักประวัติและตรวจร่างการโดยแพทย์ โดยประวัติที่สำคัญ คือเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ หรือเวลาที่เห็นผู้ป่วยเป็นปกติครั้งล่าสุด โรคประจำตัว ยาที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ
ตรวจสัญญาณชีพ ได้แก่ วัดความดัน ชีพจร การหายใจ และอุณหภูมิของร่างกาย ตรวจหัวใจ และตรวจการตอบสนองของระบบประสาท
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan)
การตรวจเลือด
การรักษาระยะเฉียบพลัน
- ให้ยาละลายลิ่มเลือด หากมาทันใน 4.5 ชั่วโมง
- การรักษาผานสายสวนหลอดเลือด
หลังจากการรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือสวนหลอดเลือดแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก (ICU)
หรือหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (stroke unit) เพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
1. ความดันโลหิตสูง
2. โรคหัวใจ
3. การสูบบุหรี่
4. การดื่มสุรา
5. เบาหวาน
6. ความเครียด
7. ความอ้วน
8. สตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดร่วมกับเป็นความดันโลหิตสูง
9. อายุที่มากขึ้นจะมีความสัมพันธ์ต่อการเสื่อมของหลอดเลือด
10. ไขมันในเลือดสูงทำให้ผนังเส้นเลือดแดงไม่ยืดหยุ่น เกิดการตีบตันง่าย
11. โรคที่ทำให้เกิดภาวะเลือดข้นกว่า
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองระยะยาวและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
ลดและควบคุมปัจจัยเสี่ยง
แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
บทความโดย : พญ. สิริณัฐ พึ่งเจริญ