image
แผนกศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ

แผนกศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ

แผนกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ

 

แผนกศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลวิภารามปากเกร็ด

ระบบทางเดินปัสสาวะจัดเป็นระบบหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างอย่างยิ่ง  เนื่องจากมีหน้าที่หลักคือจำกัดของเสีย และรักษาสมดุลย์ของเหลวในร่างกาย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินปัสสาวะย่อมส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วย อวัยวะ หลายส่วน ที่ทำงานร่วมกันเพื่อผลิตและขับปัสสาวะออกทางร่างกาย โดยปัสสาวะจะถูกผลิตในไตแล้วใหลผ่านท่อไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ จากนั้นจะถูกขับออกทางร่างกายผ่านท่อปัสสาวะ

ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบไปด้วยอวัยวะ

ไต: เป็นอวัยวะเท่ากำปั้น รูปร่างคล้ายเม็ดถั่ว อยู่ในช่องท้อง 2 ด้าน ของกระดูกไขสันหลัง ส่วนบั้นเอว มีหน้าที่หลัก คือกรองของเสียที่อยู่ในเลือด ดูดซึมกลับสารที่มีประโยชน์ รักษาสมดุลของเหลว ผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมความดันโลหิต และผลิตเชลล์เม็ดเลือดแดง เป็นต้น ปัสสาวะที่ผลิตในไตจะใหลผ่านไปยังท่อไตผ่านทางกรวยไต

ท่อไต :เป็นกล้ามเนื้อลักษณะท่อบางๆต่อจากไตทั้ง 2 ข้างเพื่อนำปัสสาวะจากไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะ:เป็นอวัยวะสำหรับพักปัสสาวะไว้ชั่วคราว ก่อนขับออกจากร่างกายผ่านท่อปัสสาวะ

ท่อปัสสาวะ:เป็นท่อต่อจากกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะออกสู่นอกร่างกาย ท่อปัสสาวะ ของผู้ชายจะยาวกว่าผู้หญิงและไม่แยกจากอวัยวะเพศ ดังนั้นระบบทางเดินปัสสาวึงมักเกี่ยวพันและครอบคลุมไปถึงระบบสืบพันธุ์เพศชายด้วย

อาการของโรคระบบทางเดินปัสาวะ จะมีการเบื้องต้น คือ

-ปวดหลัง ปวดบั้นเอว ปวดบริเวณข้างลำตัว

-ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีฟอง

-ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะไม่สุด น้ำปัสสาวะน้อยกว่าปกติ

-ปัสสาวะมีเลือดปน สีน้ำตาล ปัสสาวะมีสีขาวขุ่น

-มีอาการบวมตามลำตัว ขาบวม

-อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

โรคต่างๆของระบบทางเดินปัสสาวะ

สำหรับโรคระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย มักเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะที่เกิดกับไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ อาทิเช่น

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ : เป็นการตกตะกอนของสารต่างๆในปัสสาวะ ที่สะสมจนกลายเป็นก้อนแข็งลักษณะคล้ายก้อนกรวด นิ่วเกิดในไตและอาจหลุดลงมาที่ท่อไตซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดให้กับคนไข่อย่างมาก ซึ่งก้อนนิ่วนี้หากมีขนาดเล็กมักจะสามารถหลุดออกมากับปัสสาวะได้ แต่ถ้าหากมีขนาดใหญ่แพทย์จำต้องเอานิ่วออก

ที่พบบ่อย เช่นโรคนิ่วในไตและท่อไต , นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

การรักษา

-เช่นการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทรก (ESWL)

-การผ่าตัดผ่านกล้อง นิ่วในท่อปัสาวะ, นิ่วในไตและนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

การวินิจฉัยวินิจฉัย

โรคนิ่ว ในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การส่งอัลตราซาวด์(Ultrasound) หรือส่งเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์(CT Scan)

โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ(Urinary tract infection หรือ UTI) :เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณรอบท่อปัสสาวะ แล้วเกิดการอักเสบในอวัยวะต่างๆเกิดเป็นโรค เช่น

โรคท่อปัสสาวะอักเสบ : เป็นการอักเสบของเซลล์เยื่อบุท่อปัสสาวะ มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสวะสั้นกว่าผู้ชาย และอยู่ใกล้ช่องคลอด ทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคผ่านเข้าทางท่อปัสสาวะได้ง่ายกว่าผู้ชาย ซึ่งมีท่อปัสสาวะยาวกว่า และอยู่ห่างทวารหนัก

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ:เป็นการอักเสบติดเชื้อต่อเนื่องมาจากท่อปัสสาวะ 

โรคกรวยไตอักเสบ : เป็นการอักเสบของส่วนต่อระหว่างไตกับท่อไตที่ต่อเนื่องมาจากกระเพาะปัสสาวะ

โรคไตอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียกับท่อไต

 

โรคไตเรื้อรัง : เป็นสภาวะที่ไตถูกทำลายโดยมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไตอักเสบ หรืออายุที่มากขึ้นทำให้ไตเสื่อมสภาพ สมรรถภาพการทำงานของไตลดลง ซึ่งโรคเรื้อรังมักรักษาไม่หายแต่อาจชะลอความรุนแรงของโรคได้

โรคมะเร็งของระบบทางเดินปัสสาวะ : ประกอบด้วย มะเร็งไต มะเร็งท่อไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมลูกหมาก

สาเหตุ ไม่ทราบแน่นอน อาจเกิดจาก พันธุกรรม การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารจำพวกเนื้อแดง

สัมผัสสารเคมีบางอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน การักษา เรื่มตั้งแต่การผ่าตัด , ผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้อง(laparoscopic radical prostatectomy)ร่วมกับการทำเคมีบำบัด หรือ รังสีรักษา(ฉายแสง)

โรคต่อมลูกหมากโต: เป็นภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุ และไปกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะติดขัด รวมถึงทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้นจนกักเก็บน้ำปัสสาวะได้น้อยลง ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยขึ้น จนถึงขั้นปวดปัสสาวะกระทันหันได้ โรคต่อมลูกหมากโต สามารถรักษาได้ด้วยการกินยา  หรือผ่าตัดต่อมลูกหมากด้วยวิธีส่องกล้อง

ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน:พบมากในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป การที่พบ คือปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน ปัสสาวะเล็ด สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทบริเวณกล้ามเนื้อกระเพาะ

ถ้าหากพบว่ามีอาการดังกล่าวข้างต้นไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและสามารถรักษาโรคได้ตรงจุด

...

 

วันเวลาออกตรวจ

พฤหัสบดี  13.00 น.-17.00 น.