การตรวจคัดกรองสมรรถภาพการได้ยิน
เฝ้าระวังภาวะสูญเสียการได้ยินจากเสียงดังโดยการวัด ความสามารถในการได้ยินหูทั้ง 2 ข้างด้วยเครื่องวัด สมรรถภาพการ ได้ยิน (audiometer) ตรวจฟังเสียงผ่านหูฟังเพื่อหาระดับเสียงต่ำสุดที่เริ่ม ได้ยิน (hearing threshold level) ในแต่ละความถี่ต้อง เริ่มตั้งแต่ 500-8000 เฮิรตซ์ของหูแต่ละข้าง โดยเป็นการวัดเฉพาะการนำเสียงทางอากาศ (air conduction)
***จุดประสงค์ของการตรวจการได้ยินคือ
1.เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในคนทำงานที่เข้าทำงานใหม่
2.เพื่อเป็นการค้นหาปัญหาการสูญเสียการได้ยินในระยะ เริ่มต้นตามแนวทางของการจัดทำโครงการ อนุรักษ์การ ได้ยิน
3.เพื่อติดตามผลการควบคุมป้องกันด้านสภาพแวดล้อม
การทำงาน
1.(baseline audiogram) เป็นการตรวจ การได้ยินให้ กับลูกจ้างที่รับเข้าทำงานใหม่ หรือลูกจา้งที่บรรจุใหม่ของ สถานประกอบการที่จะทำงานในแผนกที่มี เสียงดัง ≥ 85 เดซิเบลเอ ตามกฎหมายกาหนดไวนายจา้งตอ้งจดัให้ ลูกจ้างได้รับการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการ ได้ยิน ภายใน 30 วัน
2.มีระดับเสียง 80-84 เดซิเบล ควรตรวจ เพื่อการเฝ้าระวังอย่างน้อยทุก 3 ปี / ระดับเสียงมากกว่า 85 เดซิเบล (เอ) ควรตรวจเพื่อการเฝ้าระวังอย่างน้อยทุก 1 ปี
3.ก่อนลาออก หรือเปลี่ยนงาน (exit audiogram) เพื่อ ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางด้านสุขภาพ หรือใช้ประโยชน์ในการทำงานที่ใหม่ต่อไป
***การเตรียมผู้รับการตรวจคัดกรองสมรรถภาพการได้ยิน
1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังทุกชนิด ที่บ้าน หรือที่ทำงาน เช่น จากการฟังเพลงจากวิทยุ สถานบันเทิง เครื่องเสียงในรถยนต์ เป็นต้น ก่อนเข้ารับการตรวจการได้อย่างน้อย 12 ชั่วโมง
2.อนุญาตให้เข้าไปปฏิบตัิงานไดไ้ม่เกิน 4 ชั่วโมง แต่ กรณีตอ้งการเก็บเป็นขอ้มูลพื้นฐาน (baseline data) จะต้องหยุดสัมผัสเสียงอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
3.ออกจากที่มีเสียงดังก่อนถึงเวลาตรวจสมรรถภาพได้ยิน อย่างน้อย 15 นาที
***ประวัติผู้รับการตรวจ ควรถามประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน ประวัติเการเจ็บป่วย ที่ก่อใหเ้กิดปัญหา ได้ยิน เช่น อุบัติเหตุที่ศีรษะ คางทูม ประวัติสัมผัสเสียงท้งที่เกิดจากงาน ควรซักประวัติ การ เป็น หวัด หูอื้อ มีน้ำ หรือหนองไหลจากหูมีการอักเสบ ติด
เชื้อบริเวณหูหรือศีรษะ ประวัติการผ่าตัดในรูหูรวมทั้งการ ติดเชื้อบริเวณผิวหนัง
บทความโดย : แพทย์หญิง วรศรม บุริทราธิกุล
ศูนย์สุขภาพและอาชีวินามัย โรงพยาบาลวิภารามปากเกร็ด
Tel : 02-092-4900 ต่อ 138